คู่มือการดูแลตนเอง

เทใจ x @sabaideebot

ชุดดูแลสุขภาพ
ด้วยตนเอง

ําหับผูวยโคิด-19

ยาบรรเทาอาการพื้นฐาน

พาราเซตามอล ลดไข้ แก้ปวด กิน 1 เม็ด ทุกๆ 4-6 ชม. ห้ามกินติดต่อกันเกิน 5 วัน
ยาอมแก้เจ็บคอ อมละลายช้าๆ ทุกๆ 6 ชม.
ฟ้าทะลายโจร เพิ่มภูมิต้านทาน กินตามคำแนะนำบนฉลาก ห้ามกินติดต่อกันเกิน 5 วัน
เกลือแร่ แก้อ่อนเพลีย ป้องกันภาวะขาดน้ำ ละลายน้ำด้วยสัดส่วนตามคำแนะนำบนฉลาก

แนวทางกักตัว

  • งดเยี่ยม และงดการออกจากบ้าน
  • สวมหน้ากากและอยู่ห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร
  • ถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือล้างมือด้วยสบู่เป็นประจำ และก่อนสัมผัสจุดที่ผู้อื่นในบ้านใช้ร่วมกัน เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได มือจับตู้เย็น ฯลฯ
  • แยกของใช้ส่วนตัวไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น จาน ช้อนส้อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์
  • ไม่รับประทานอาหารกับผู้อื่น
  • แม่ให้นมลูกสามารถให้นมได้ ควรสวมหน้ากากและล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสหรือให้นม
  • ใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น หรือใช้เป็นคนสุดท้ายและทำความสะอาดทันที
  • ทำความสะอาดด้วยน้ำยาฟอกผ้าขาว 5% โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (เช่น ไฮเตอร์, คลอรอกซ์) 1 ส่วนต่อน้ำ 99 ส่วน หรือ 0.5% (น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วน ต่อน้ำ 9 ส่วน)
  • ซักเสื้อผ้าด้วยผงซักฟอกตามปกติ
  • ทิ้งหน้ากากที่ใช้แล้วและขยะที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งให้ใส่ถุงพลาสติก และปิดปากถุงให้สนิท ติดป้ายว่า “ขยะติดเชื้อ” ในถังขยะมีฝาปิด และล้างมือหรือถูด้วยเจลแอลกอฮอล์ทันที
  • ผู้อาศัยร่วมต้องเข้าใจว่าผู้พักรักษาตัวเป็นผู้ติดเชื้อถึงแม้ว่าสภาพร่างกายอาจดูปกติ แต่ภายในของผู้ป่วยยังมีปริมาณเชื้อที่สามารถแพร่กระจายได้
  • การส่งสิ่งของระหว่างกันต้องวางในจุดนัดพบเพื่อให้อีกฝ่ายรับกลับไปในเวลาที่สับเหลื่อมกัน
  • ผู้ป่วยและผู้อาศัยร่วมอาจเกิดความเครียดทั้งสองฝ่าย ความเข้าใจกันและกันจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

สังเกตอาการและเฝ้าระวัง

หากมีอาการของกลุ่มผู้ป่วยสีแดง ควรแจ้งหน่วยงานที่เคยขอความช่วยเหลือไป หรือไปโรงพยาบาลใกล้บ้าน

ดูแลตัวเองให้ดี พักผ่อนมากๆ อาการจะบรรเทาได้ คอยสังเกตอาการและเฝ้าระวัง

  • ไม่มีอาการใดๆ ในกลุ่มสีเหลืองและแดง

ควรเฝ้าระวังและดูแลตัวเองให้มากขึ้น

  • แน่นหน้าออก หายใจเร็ว หายใจลำบาก ไอแล้วเหนื่อย
  • ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้ง ต่อวัน ร่วมกับหน้ามืดวิงเวียน
  • อ่อนเพลีย เวียนศรีษะ
  • ปอดอักเสบ
  • อายุมากกว่า 60 ปี
  • เป็น 1 ใน 7 โรคกลุ่มเสี่ยง
    1. โรคมะเร็งทุกชนิด ที่อยู่ระหว่างรักษาด้วยเคมีบำบัด รังสีบำบัดและภูมิคุ้มกันบำบัด
    2. โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ปอดอุดกั้น หอบหืด
    3. โรคหัวใจและหลอดเลือด
    4. โรคอ้วนน้ำหนักเกิน 90 กก.
    5. โรคหลอดเลือดสมอง
    6. โรคเบาหวานคุมไม่ได้
    7. โรคไตเรื้อรังระยะ 5 ขึ้นไป โรคไตวายเรื้อรัง

ควรได้รับการรักษาใน รพ.

  • มีอาการหายใจลําบาก (หายใจมากกว่า 30 ครั้ง / นาที หายใจทางปากและจมูกใช้กล้ามเนื้อท้องหรือ เอาแขนยัน โน้มตัวมาข้างหน้าเพื่อหายใจ พูดได้ไม่จบประโยค กระสับกระส่าย ซึม สับสน)
  • ค่าออกซิเจน น้อยกว่า 96%
  • ผลเอกซเรย์ปอดพบปอดอักเสบ
  • มีภาวะปอดบวม
  • ระดับออกซิเจนเมื่อเดินเป็นเวลา 5 นาที มีปริมาณลดลงมากกว่า 3% เมื่อเทียบกับก่อนเดิน

หายใจลำบาก

  • นอนคว่ำ (ตะแคงหน้าไปด้านข้าง) เพื่อให้ 2/3 ส่วนของปอดได้แลกเปลี่ยนอากาศได้ดีขึ้น ห้ามนอนคว่ำ ถ้ามีเสมหะ บาดเจ็บที่คอ เป็นแผลที่หน้า ไม่รู้สึกตัว หรือความดันตัวบนต่ำว่า 90
  • หากนอนคว่ำไม่ได้ ให้นอนตะแคงซ้าย
  • สลับนอนคว่ำ-นอนตะแคงขวา-นั่ง-นอนตะแคงซ้าย ท่าละ 0.5-2 ชม. สลับไปเรื่อย ๆ

เป็นไข้

(บรรเทาอาการเหมือนกับเมื่อเป็นไข้หวัดทั่วไป)

  • กินยาพาราเซตามอลลดไข้ 1 เม็ด ทุก ๆ 4 หรือ 6 ชม. (น้ำหนักเกิน 67 กก. กินครั้งละ 2 เม็ด)
  • ดื่มน้ำมากๆ วันละ 2 -3 ลิตร โดยค่อย ๆ จิบ สม่ำเสมอ
  • นอนพักมาก ๆ
  • อาจเช็ดตัวเพื่อลดไข้

ไอเจ็บคอ

  • อมยาอมให้ละลายช้า ๆ ทุกๆ 4-6 ชม.
  • กินยาแก้ไอ ชนิดน้ำหรือชนิดเม็ดสำหรับอม
  • อมลูกอมหรือกินผลไม้ที่ทำให้ชุ่มคอ

กินข้าวไม่ลง

  • กินอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย มีคุณค่าครบ 5 หมู่ เช่นข้าวต้ม แกงจืด หรืออาหารที่กินเมื่อเป็นไข้หวัดทั่วไป
  • ควรพยายามกินเพื่อให้ร่างกายได้สารอาหารพอเพียงที่จะสร้างภูมิต้านทาน
  • กินน้ำให้เพียงพอ อาจผสมผงเกลือแร่กับน้ำ 1 แก้ว กินวันละ 2-3 ครั้ง

ท้องเสีย

  • ผสมผงเกลือแร่กับน้ำ 1 แก้ว เพื่อทดแทนการเสียน้ำ

สังเกตและจดบันทึกอาการทุกวัน วัดปรอท  ค่าออกซิเจน และจำนวนครั้งที่หายใจใน 1 นาที วันละสองเวลา ไว้เป็นข้อมูลให้คุณหมอเมื่อได้รับการดูแล

ไข้สูงเกิน
39.5°c
ค่าออกซิเจนน้อยกว่า
90%
หายใจมากกว่า

24* ครั้ง/นาที

* อาจมีปัจจัยร่วมอื่นทำให้หายใจเร็วขึ้นหรือช้าลงได้

พูดได้ไม่จบประโยค / กระสับกรส่าย / สับสน / หายใจเร็ว / หัวใจเต้นสั่น
/ เหนื่อยง่าย / เดินแล้วเริ่มหอบ

รีบไปโรงพยาบาลใกล้บ้าน เร็วที่สุด

ขอความช่วยเหลือ
ติดต่อขอรักษาตัวที่บ้าน
หาเตียง
รถพาไปโรงพยาบาล

facebook.com/zendai.org
02 109 5190, 02 096 5000, 
081-591-9714, 080-660-9998
ศูนย์ประสานงานต้านภัยโควิด(กองทัพบก) 02 270 5685 – 9

ความช่วยเหลืออื่นๆ

พิมพ์ “รวมความช่วยเหลือ” ในสบายดีบอต